PROTOCOL
PROTOCOL
โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ
แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล
หัวใจในการสื่อสารข้อมูลอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยเน้นการสื่อสารที่แตกต่างกันทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง ติดต่อผ่านข่ายสื่อสารไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่ง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงในระบบสื่อสารที่มาจากหลายบริษัทผู้ผลิต
ด้วยแนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม ISO จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น
การวางมาตรฐานโปรโตคอลต่าง ๆ ของเครือข่าย LAN จะอยู่ในระดับล่าง 2 ระดับเท่านั้น โดยเน้นที่รูปร่างลักษณะของอุปกรณ์ รวมถึงรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งรับกันโดยมาตรฐานโปรโตคอล ส่วนนี้จะกำหนดในระดับ 1 (Physical) และวิธีการจะทำให้ข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์หนึ่งส่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งภายในเครือข่ายเดียวกัน อยู่ในโปรโตคอลระดับ 2 เรียกว่า "ระดับดาต้าลิงค์ (Data Link)
การทำงานของระดับโปรโตคอลใน LAN
ระบบ LAN ที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Ethernet, Token Ring และ FDDI โปรโตคอลที่ใช้ประกอบเป็น LAN ตามมาตรฐานข้อกำหนด จึงจัดอยู่ในระดับโปรโตคอลระดับ 1 และ 2 เท่านั้น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็น LAN ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก อีเทอร์เน็ตมีโปรโตคอลในระดับชั้นฟิสิคัล (Physical) ได้หลายรูปแบบ ตามสภาพความเร็วของการรับส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณและตัวกลางที่ใช้รับส่ง การกำหนดชื่อของ LAN แบบนี้ใช้วิธีการกำหนดเป็น XXBASEY เมื่อ XX คือความเร็ว BASE คือวิธีการส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ส่วน Y คือตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณ เช่น 10BASE2 หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบ Thin Ethernet ตัวกลางเป็นสายโคแอกเชียล 10BASE-T หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบสาย UTP และถ้า 10BASE-FL ก็จะเป็นการใข้สายเส้นใยแก้วนำแสง
สัญญาณทางไฟฟ้าของอีเทอร์เน็ตเป็นแบบดิจิตอล จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางที่ใช้ระเบียบข้อกำหนดเหล่านี้จึงอยู่ในกลุ่มโปรโตคอลระดับฟิสิคัล ส่วนในระดับโปรโตคอลดาต้าลิงค์เป็นวิธีการกำหนดแอดเดรสระหว่างกันในเครือข่าย ซึ่งแต่ละสถานีจะมีแอดเดรสเป็นตัวเลขขนาด 48 บิต การรับส่งเป็นการสร้างข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเรียกว่า "เฟรม" การส่งข้อมูลมีวิธีการใส่ข้อมูลแอดเดรสต้นทางและปลายทางและส่งกระจายออกไป ผู้รับจะตรวจสอบแอดเดรสของเฟรมถ้าตรงกับแอดเดรสตนก็จะรับข้อมูลเข้ามา
FDDI เป็น LAN อีกชนิดหนึ่งที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางมีความเร็วในการรับส่ง 100 เมกะบิตต่อวินาที รูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงแหวน การรับส่งภายในวงแหวนใช้โปรโตคอลแบบโทเก็นพาสซิ่ง (Token Passing)
โทเก็นริง (Token Ring) ระบบ LAN ที่ใช้โครงสร้างเชื่อมโยงแบบวงแหวน แต่ใช้ตัวกลางเป็นสาย UTP การรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ความเร็วในการรับส่งมีทั้งแบบ 4 เมกะบิตต่อวินาที และ 16 เมกะบิตต่อวินาที
การกำหนดโปรโตคอลใน FDDI และ Token Ring ในระดับดาต้าลิงค์ ใช้รูปแบบข้อมูลเป็นเฟรม อุปกรณ์แต่ละตัวมีแอดเดรสประจำ การรับส่งข้อมูล ส่งต่อตามบำดับตามเส้นทางของสายต่อที่เป็นวงแหวน ตัวรับจะตรวจสอบแอดเดรส ซึ่งตัวตรงกับของตนก็จะคัดลอกข้อมูลขึ้นมา แล้วตอบรับว่าได้รับข้อมูลนั้นแล้ว
จะเห็นได้ชัดว่า โปรโตคอลของ LAN ใน 2 ระดับล่าง เป็นการสื่อสารกันในกลุ่มของตนเอง ภายใต้กลุ่ม LAN นั้น ๆ เท่านั้น เช่น ถ้าเป็น Ethernet ก็จะสื่อสารกันในอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในกลุ่มนั้นเท่านั้น
เมื่อนำ LAN ต่างกลุ่มมาต่อเชื่อมรวมกัน การเชื่อมรวมกันนี้อาจเป็น LAN ที่ใช้โปรโตคอลเหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ เช่น นำ Ethernet มาเชื่อมต่อกับ Ethernet หรือ Ethernet กับ Token Ring การเชื่อมต่อระหว่าง LAN ด้วยกันนี้ จำเป็นต้องมีโปรโตคอล ช่วยในการติดต่อระหว่างกัน โปรโตคอลในระดับนี้จึงอยู่ในชั้นระดับสามคือ โปรโตคอลชั้นเน็ตเวิร์ค
โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของโปรโตคอล
1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น
Routing Protocol
Routing Protocol ความหมายของ routing protocol คือ Protocol ที่ ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร Routing table โดยจะแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ network layer (Layer 3) โดยทั่วไปที่เรารู้จักก็คือ Router และ switch layer 3 เพื่อทำการส่งข้อมูล ip packet ให้ไปถึงปลายทางได้ โดยอัตโนมัติ dynamic routing โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเวลา ทำ static route เพื่อกำหนดเส้นทางการวิ่งของ ip packet เองทั้งหมด โดย routing protocol แต่ละ ชนิดก็จะมี รูปแบบ และวิธีการค้นหา เส้นทาง เพื่อให้ ip packet ไปถึงปลายทางได้ แตกต่างกัน แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเลือก มาใช้ให้เหมาะสมกับระบบของเรามากที่สุด
เมื่อเราแบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ IGP (Interior Gateway Protocol) และ EGP(Exterior Gateway Protocol) โดย
IGP (Interior Gateway Protocol) เป็น ประเภทของ routing Protocol ที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ routing table ที่อยู่ภายใต้ (Autonomous System) AS เดียวกัน Autonomous System หมายถึง ระบบเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล อยู่ ในภายใต้การบริหารของ ผู้ดูแลระบบ หรือมี policy เดียวกัน เช่น ระบบ network ของ องค์กร หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ถือว่าอยู่ภายใต้ผู้ดูแล กลุ่มเดียวกัน หรือ หลายๆ บริษัทที่มี policyเดียวกัน เช่น บริษัทใดบริษัทหนึ่งมี customer provider partner dealer ที่ต้องการใช้เครือข่ายร่วมกัน เพื่อ share ข้อมูลร่วมกันในการบริงานต่างๆ routing protocol ประเภท IGP เช่น RIP, IGRP (ยกเลิกการใช้ไปแล้ว), EIGRP, OSPF, IS-IS โดย IGP สามารถ แบ่งตาม ลักษณะการทำงานได้ 3 ชนิดคือ
1. Distance Vector Routing Protocol เป็น Protocol ที่ ใช้ ระยะทาง hop count ในการคำนวณเส้นทาง เช่น RIP ,IGRP
2. Link State Routing Protocol ใช้ algorithm ในการวาด topology ขึ้นมา แล้วนำมาควณเส้นทางที่ดีที่สุด เช่น OSPF, IS-IS
3. Hybrid Routing Protocol เป็นการนำข้อดีของ Distance Vector Routing Protocol และ Link State Routing Protocol มา เช่น EIGRP
EGP (Exterior Gateway Protocol) เป็น ประเภทของ routing Protocol ที่มีลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ routing table ที่อยู่ ต่าง AS กัน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร โดยทั่วไปผู้ใช้ routing protocol ลักษณะนี้คือ Internet Service Provider (ISP), Internet Exchange (IX) เพราะ ใน Internet เป็น การรวมกันของ networkย่อยๆ ของหลายๆองค์กร จนครอบคลุมทั่วโลก โดย จะใช้ routing protocol ที่เรียกว่า BGP (Border Gateway Protocol)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น